แรงงาน

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สู้เส้นทางนักเขียนสารคดีเติมความฝันของกรรมกร

วาสนา ลำดี “สวัสดีครับพี่นก” “อ้าวมาแต่เช้าเลยนะประวิทย์ เป็นไงตื่นเต้นที่จะได้เรียนเขียนสารคดีเชิงข่าวเหรอ” วันนี้ตื่นเช้ามาด้วยความรู้สึกมึนหัวเล็กน้อย ถึงวันแล้วซินะที่ต้องได้รับการอบรมเขียนข่าวเชิงสารคดี สงสัยจะตื่นเต้น เนื่องจากไม่ได้ถูกอบรมมานาน แม้ว่าจะเคยผ่านการอบรมเขียนข่าว อบรมเขียนสารคดีจากอาจารย์หลายท่านมา แต่ครั้งนี้จะได้เข้าอบรมร่วมกับพี่น้องนักสื่อสารแรงงาน ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นใหม่ และเป็นกรรมกรที่ทำงานในโรงงาน และยังมีพี่น้องแรงงานนอกระบบอย่างป้าสุจิน รุ่งสว่างที่ตั้งมั่นว่าจะมาเรียนเขียนสารคดีในวันนี้ด้วย เฮ้อ แอบถอนหายใจเล็กน้อย เมื่อเปิดประตูห้องประชุม ศุภชัย ศรีสติ เข้ามาพบประวิทย์นั่งอยู่นิ่งเงียบเมื่อจองไปในแววตาเห็นถึงร่องรอยของความคุ้นคิด ความเงียบรอบตัวของเราสองคนอยู่พักใหญ่ก่อนที่ประวิทย์จะพูดเสียงเบาออกมาว่า “พี่นกครับต่อไปนี้ผมคงไม่ค่อยได้มาร่วมทำกิจกรรมอะไรมากมายกับขบวนการแรงงานนะครับคงต้องเลือกกิจกรรม วันนี้ผมมาร่วมอบรมได้เพราะอยากรู้วิธีการเขียนสารคดีเชิงข่าว อยากเขียนเล่าเรื่องได้ ” ประวิทย์เล่าว่า ตอนนี้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมาก และนายจ้างก็งดไม่ให้ทำงานล่วงเวลา ทำให้รายได้ไม่พอกับรายจ่าย ประวิทย์ ธรรมรักษ์ ทำงานอยู่ในโรงานผลิตรถมอเตอร์ไซค์ ย่านปทุมธานี โดยมีรายได้ประมาณเดือนละ 10,000 บาท ดิฉันรู้สึกเหมือนน้ำลายแห้งเป็นก้อนในลำคอนิ่งไปพักใหญ่ ก่อนที่จะบอกว่า ไม่เป็นไร เลือกงานไป รู้สึกดีใจที่เธอมาร่วมอบรมวันนี้ เพื่อที่จะเริ่มเป็นนักเขียนของแรงงาน ขบวนการแรงงานขาดนักคิดนักเขียนที่สามารถทำให้สังคมหันมาเข้าใจความเป็นชนชั้นกรรมกร การต่อสู้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันไม่เคยมีใครบันทึกถึงคุณค่าของคนที่สร้างบ้านสร้างเมืองให้เติบโตทั้งความสวยงาน และเศรษฐกิจ ซึ่งพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยได้จัดแสดงถึงเรื่องราวของผู้นำแรงงานในอดีตที่เป็นนักเขียนนักหนังสือพิมพ์ ชนชั้นปัญญาชนที่เรียกตัวเองเป็นกรรมกร ไว้อย่างน่ายกย่อง เช่นห้องประชุมศุภชัย ศรีสติที่เรานั่งอบรมกันอยู่ เขาคือนักหนังสือพิมพ์คนหนึ่งที่ต่อสู้กับเผด็จการทหารในฐานะเลขาธิการสมาคมกรรมกร 16 หน่วย และต้องถูกกระสุนเผด็จการปลิดชีพ ซึ่งมีกรรมกรถีบสามล้อเป็นประธาน และมีถวัติ ฤทธิเดช ที่เป็นอีกนักหนังสือพิมพ์ ที่ลุกขึ้นมาทำหนังสือพิมพ์กรรมกร และยังมีอารมณ์ พงศ์พงัน ที่เป็นผู้นำกรรมกรชนชั้นปัญญาชนที่ทำงานการประปา เป็นนักคิดนักเขียน ซึ่งมีปรากฏเป็นเรื่องสั้นตรีพิมพ์ให้เห็นอยู่หลายเล่ม ซึ่งถือเป็นหนึ่งแรงบันดาลใจของดิฉัน ในการลุกขึ้นมาเป็นหนึ่งในกรรมกรที่เขียนข่าวด้วย การที่ประวิทย์ และเพื่อนที่มาร่วมกันอบรมกับนักเขียนสารคดี อย่างคุณวีระศักร จันทร์ส่งแสง ถือเป็นความหวังหนึ่งในการสร้างหน่ออ่อนกรรมกรนักสื่อสารสู่เส้นทางนักเขียนเพื่อเติมความฝันเรื่องราวของกรรมกรให้มีชีวิตที่มีคุณค่าตราไว้ในสังคม /////////////////////////////////////

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554